วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6
EAED3207 Scince Experinces Management for Eariy Childhood
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 21 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 : 12.20 (วันอังคาร เช้า ) กลุ่มเรียน 103
คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อ : นางสาวศิรดา สักบุตร (Sirada Sakbud) รหัสประจำตัว 5511200684




บทความ


-  สอนลูกเรื่องพีช  (Plants)
             การสอนลูกมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย  ่การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย  กิจกรรมการเคลื่อนไหวเป็นต้นไม้การถูกลมพัดให้โอเอน  ทำให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายด้านต่าง  การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ - จิตใจ  เด็กได้เกิดความรู้และยังได้เกิดการผ่อนคลายทางด้านอารมณ์  การส่งเสริมด้านสังคม  ทำให่้เด๋กได้มีการเรียนรู้และการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน  การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญามีทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์จากกการวัดส่วนสูงการคาดคะเนเรื่องของเวลา



ทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน



หลักการ
  1. การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน
  2. ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม
  3. การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา
  4. ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี
  5. ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
�การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
  1. การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง
  2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ
  3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด การทำ และการเรียนรู้ต่อไป
  4. จัดสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ เช่น วัย ความถนัด ความสามารถ และประสบการณ์
  5. สร้างบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร
  6. ครูต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  7. การประเมินผลการเรียนรู้ต้องประเมินทั้งผลงานและกระบวนการ
  8. ใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมิน เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน

 กิจกรรมการสร้างชิ้นงานภายในห้องเรียน 





เฟรดริด วิสเฮม  เฟรอเบล
   


       เฟรดริด วิสเฮม  เฟรอเบล  ผู้นำการศึกาาอนุบาลได้รับการขนานนาม(denominate)
ว่าเป็นบิดา    "การศึกาาปฐมวัย"
ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียน(class)โดยเฉพาะ ประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุด ของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)


จอห์น ล็อก


       จอห์น ล็อก (John Locke) (29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ  (freedom), และทรัพย์สิน(bags) นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติแนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสง สว่าง. เขามีทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ว่า ความรู้จะต้องเกิดหลังประสบการณ์ และความรู้จะเกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัส เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสก็จะมีความรู้สึก และความรู้สึกจะทำให้มนุษย์นั้นคิด และความคิดนี้คือแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ หากปราศจากการสัมผัสมนุษย์ก็จะไม่คิด เพราะจิตโดยธรรมชาติจะมีสภาพอยู่เฉย. เขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักประสบการณ์นิยมชาวบริติช ซึ่งประกอบไปด้วยเดวิด ฮูม และจอร์จ บาร์กลีย์ ล็อกมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับโทมัส ฮอบบส์

การนำไปประยุกต์ใช้

     เราสามรถนำกิจกรรมที่ได้จากการเรียนการสอนในวันนี้ไปใช้ในการเรียนรายวิชาต่างๆ  การนำเอารายวิชามาบูรณาการณ์การเรียนการสอนในรายวิชา  การนำสื่อมาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน  โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  อย่างการวาดรูประบายสีเราสามารถนำมาบูรณรการณ์กับรายวิชาศิลปะได้

การประเมิน
  การประเมินตนเอง 
    มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียนที่อาจารย์เตรียมมาใช้ในการเรียนการสอน   /  การแต่งกาย  ถูกระเบียบ
 การประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาในการเรียนการสอนเช่นกัน  เพื่อนๆมีความสนใจในการทำกิจกรรม  

การประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีการเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอนมา   เพื่อนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประดิษฐ์สื่อ
การเรียนการสอน


คำศัพท์ที่ได้จากการเรียนการสอน
   
      -  เสรีภาพ  (freedom)
      -  ทรัพย์สิน(bags)
      -  ชุดอุปกรณ์ (Gifts) 
      -   การงานอาชีพ (Occupations)
      -  ชั้นเรียน  (class)
      -  ขนานนาม(denominate)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น