สรุปบทความ
EAED3207 Scince Experinces Management for Eariy Childhood
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 : 12.20 (วันอังคาร เช้า ) กลุ่มเรียน 103
คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
ชื่อ : นางสาวศิรดา สักบุตร (Sirada Sakbud) รหัสประจำตัว 5511200684
สรุป บทความ เรื่อง ภารกิจตามหาใบไม้
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เริ่มโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์คณิตสาสตร์ และเทคโนโลยีเด็กปฐมวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
เพื่อร่วมเป็นกำลังสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ภายใต้แนวทางการจัดอบรมครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะการจัดกิจกรรม
บูรณาการสหวิชา ตลอดจนสนับสนุนสื่ออุปกรณ์การศึกษาต่างๆ
เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านกระบวนการสืบเสาะ 4 ขั้นตอน ได้แก่
การตั้งคำถาม การสำรวจตรวจสอบ การตอบคำถาม
และนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง “วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการแสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งครูสามารถใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัว
มาสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนโดยไม่ต้องมีห้องทดลองหรืออุปกรณ์ไฮเทคใดๆ
ขอเพียงให้เด็กได้ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ
และสรุปความรู้ แรกดำเนินการประสบกับปัญหาหลายด้าน
ตั้งแต่ปัญหาการสื่อสารทางภาษาเนื่องจากเด็กเกือบทั้งหมดเป็นเด็กชนเผ่า
ผู้ปกครองก็เป็นชนเผ่า ปัญหาครูผู้สอนที่ไม่ได้จบด้านปฐมวัยมาโดยตรง
จึงไม่มีพื้นฐานจัดกิจกรรม หรือความรู้จิตวิทยาเด็ก
เกิดความสับสนเมื่อต้องรับผิดชอบทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน 6 กิจกรรมหลัก
ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหว กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี
กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเกมส์การศึกษา และกิจกรรมเสริมจาก สสวทเมื่อได้รับการอบรมก็เข้าใจว่า
เป็นแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมเข้าไปใน 6
กิจกรรมหลักที่มีอยู่แล้ว
ส่งผลให้ครูมีองค์ความรู้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถต่อยอดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนสามารถพัฒนาการเกิดขึ้นกับเด็กๆ อย่างชัดเจนถึง 4
ด้านภายหลังนำโครงการนี้เข้ามา คือ ด้านร่างกาย เด็กมีการเคลื่อนไหว
ตื่นตัวต่อการเรียนรู้ตลอดเวลา ด้านสังคม เด็กมีการทำงานร่วมกัน
มีพัฒนาการทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน รู้จักเคารพกฎ-กติกา ด้านครอบครัว
มีการพูดคุย และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง และด้านสติปัญญา
เด็กค้นหาและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตัวเอง แทนที่จะรอครูบอกเพียงอย่างเดียว
ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา
กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่าง ง่ายๆ “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาวเขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท.มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา ทำให้เด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว หลังจากนั้นเริ่มมีเสียงเรียกร้องจากเด็กปฐมวัยให้จัดการเรียนการสอนแบบ นี้ เมื่อเขาขึ้นสู่ระดับประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งเราคงเริ่มที่ระดับประถมศึกษาก่อน ถ้าหาก สสวท. สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษา 3 เท่ากับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึง 5 ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็กให้เป็นคนมีจิตวิทยา ศาสตร์ ที่ติดตัวไปกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็กบางคนอาจกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของประเทศก็เป็นได้
ตามหาใบไม้...ที่บ้านแม่สลิดหลวงวิทยา
กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ ต่อยอดสู่การเรียนรู้เรขาคณิตจากรูปทรงของใบไม้ ตลอดจนช่วยกันคิดค้นเทคโนโลยีในการพิมพ์ลายใบไม้ให้เป็นศิลปะบนผืนผ้าอย่าง ง่ายๆ “เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี่เป็นเด็กชาวเขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช่วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้งสองภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท.มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชา ทำให้เด็กๆ มีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมที่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว หลังจากนั้นเริ่มมีเสียงเรียกร้องจากเด็กปฐมวัยให้จัดการเรียนการสอนแบบ นี้ เมื่อเขาขึ้นสู่ระดับประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งเราคงเริ่มที่ระดับประถมศึกษาก่อน ถ้าหาก สสวท. สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษา 3 เท่ากับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึง 5 ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็กให้เป็นคนมีจิตวิทยา ศาสตร์ ที่ติดตัวไปกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็กบางคนอาจกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของประเทศก็เป็นได้
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การนำแนวทางพระราชดำริ ของพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มาใช้ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนที่เราจะไปใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้
ขอบคุณแหล่งที่มา
http://www.manager.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น