บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
EAED3207 Science Experinces Management for Early Childhood
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 : 12.20 (วันอังคาร เช้า) กลุ่มเรียน 103
คณะศึกษาศาสตร์ โปรแกรมการศึกษาปฐมวัย
ชื่อ : นางสาวศิรดา สักบุตร (Sirada Sakbud) รหัสประจำตัว : 5511200684 เลขที่ : 16
"เด็กปฐมวัย" เด็กตั้งแต่ที่มีการเกิดการปฏิสนธิ ถึง 6 ปี บริบูรณ์ เด็กวันนี้ควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จะส่งผลต่อพัฒนาการ "พัฒนาการ" (Development) คือการเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ (Funtion) และวุฒิภาวะ (Maturation) ของระบบต่างๆ ในตัวเรา จำแนกได้ 4 ด้าน ได้แก่
ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
Mind Map "เด็กปฐมวัย"
"วิทยาศาสตร์" (Science) มาจากภาษาลาติน คำว่า science หมายความว่า "ความรู้" สิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ และเข้าใจจากสภาพแวดล้อมสิ่งรอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต การเรียนรู้แบบนี้เป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งมองได้จากธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเรา ในวัยเด็กเราจะมีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างสงสัย
เมื่อได้พบเจอประสบกรณ์ใหม่ๆ
การนำไปใช้ในขีวิตประจำวัน
- การนำไปใช้ในเรียนการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน เพื่อให้เด็กได้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ
- การปลูกฝังให้เด็กรักในวิชาวิทยาศาสตร์โดยมีการจัดการเรียนเพื่อให้มีเพื่อฐานในการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น วิชาวิทยาศาสตร์ก็จะไม่เป็นวิชาที่น่าเบื่อสำหรับเด็กๆอีกต่อไป
- การสอนให้เด็กรักในวิชาวิทยาศาสตร์
- การฝึกการสังเกต สอนให้เด็กรู้จักการสังเกต การสำรวจ หาข้อมูล และนำสิ่งที่ได้มาใช้ในการเรียนรู้ได้
- การนำมาบูรณาการในรายวิชาต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดความสุขสนานเพลิดเพลิน และชื่นชอบในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มมาขึ้น
การประเมิน
- การประเมินตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนบรรยายกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ในหน่วย เรื่องไข่ ว่าสามรถทำอะไรได้บ้าง ไข่มาจากไหน นำมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไร ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และร่วมช่วยแสดงความคิดเห็น แต่วันนี้มาเรียนสาย อาทิตย์หน้าจะปรับปรุงคะ
- ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาใช้ในการเรียนการสอน ทำให้เพื่อนๆ ในห้องเกิดความสนใจ การเรียนในวันนี่จึงไม่น่าเบื่อ เพื่อนๆมีการจดบันทึกตามอาจารย์เป็นระยะๆ ร่วมกันตอบคำถามเวลาเพื่อนออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
- การประเมินอาจารย์ผู้สอน อาจารย์มีการนำกิจกรรมจากเปลือกไข่มาให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น คำตอบที่นักศึกษาตอบจะไม่มีถูกไม่มีผิด ถือว่าฝึกกระบวนการความคิด ทำให้นักศึกษาเกิดความสนุกเพลิดเพลิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น